AGING SOCIETY

สังคมผู้สูงอายุ
(ข้อมูลทั้งหมดนำเสนอเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น)

หลักการสากลขององค์การสหประชาชาติ ให้นิยามไว้ว่า

ประเทศใดมีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society และจะเป็น "สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ" หรือ "สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์" (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

คุณคิดว่าใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายหลังเกษียณอายุสำหรับผู้ที่เกษียณอายุแล้ว ?

ธนาคารโลก หรือ World Bank ได้จัดทำรายงานเรื่อง Live Long and Prosper: Aging in East Asia and Pacific โดยสำรวจว่า "คุณคิดว่าใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายหลังเกษียณอายุสำหรับผู้ที่เกษียณอายุแล้ว?" 

ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ เกินกว่าครึ่งหนึ่งตอบว่า "คนที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ คือตัวผู้เกษียณอายุเอง" ในขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศจีน ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เกินกว่าครึ่งหนึ่งตอบว่า "คนที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ คือ รัฐบาล" นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่คิดวางแผนล่วงหน้าเพื่อการเกษียณอายุ เนื่องจากคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว และหวังพึ่งพิงสวัสดิการจากรัฐมากเกินไป

จากการสำรวจข้อมูลตัวเลขประชากรย้อนหลังไป 5 ปีที่ผ่านมาของประเทศไทยพบว่า จำนวนคนวัยทำงาน 4 คน จะต้องเลี้ยงดูผู้สูงอายุ 1 คน และในอนาคตสัดส่วนนี้จะมีค่าลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น คนแต่งงานช้าลงและมีลูกน้อยลง ทำให้มีจำนวนคนวัยทำงานลดลง มีผลทำให้ในอนาคตรัฐจะจัดเก็บภาษีจากกลุ่มคนวัยแรงงานได้ลดน้อยลง การจัดสรรงบประมาณด้านสวัสดิการจึงอาจมีไม่เพียงพอต่อความต้องการขอบประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ (ซึ่งเป็นผู้สูงอายุ)

สถิติประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทย
แหล่งที่มาของข้อมูล: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ 31 ธ.ค. 65 

- ผู้สูงอายุ เพศชาย จำนวน 5,622,074 คน [คิดเป็น 44.27%]

- ผู้สูงอายุ เพศหญิง จำนวน 7,076,288 คน [คิดเป็น 55.73%]

1st = ช่วงอายุ 60 - 69 ปี ประมาณ 7 ล้านคน [คิดเป็น 56.07%]

2nd = ช่วงอายุ 70 - 79 ปี ประมาณ 3.6 ล้านคน [คิดเป็น 29.48%]

3rd = ช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไป ประมาณ 1.8 ล้านคน [คิดเป็น 14.45%]

เมื่อมีผู้สูงวัย (ผู้มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546) เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากแล้ว ประเทศจะเป็นอย่างไร ในแง่หนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจาก

อาชีพที่น่าสนใจสำหรับผู้ใหญ่วัย 45+
แหล่งที่มาของข้อมูล: อาชีพน่าสนใจสำหรับผู้ใหญ่วัย 45+ (dop.go.th) 

1. ขายของออนไลน์

ช่องทางสร้างรายได้มาแรง ยอดนิยมและไม่มีข้อจัดในการขาย ว่าจะอายุเท่าไหร เพศไหน อยู่ที่ไหนก็ขายได้ ยิ่งในปัจจุบันผู้สูงวัยเริ่มที่จะมีความสามารถในการใช้งานแอพลิเคชั่นบนมือถือ สังเกตง่ายๆอย่างน้อยก็ Facebook, Line ลองสร้างเพจขึ้นมาขายของ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากในคลิปสอนโพสต์ขายซึ่งมีอยู่มากมายไม่ต้องเสียเงินไปเรียนคอร์สให้สิ้นเปลือง ประการสำคัญของการขายของออนไลน์คือ “ต้นทุน” ไม่มีต้นทุนหน้าร้านให้เป็นภาระ ไม่จำเป็นสต็อกสินค้า ยิ่งไปเป็นตัวแทนจำหน่ายแทบจะไม่ต้องทำอะไรเลยนอกจากโพสต์ขาย ขายได้ก็ส่งออเดอร์แล้วรอรับเงินส่วนแบ่งจากขายการ 

2. ขายของตลาดนัด

แม้ตลาดนัดจะดูซบเซาลงไปบ้างจากการเข้ามามีบทบาทของธุรกิจอีคอมเมิร์ซหรือการค้าขายออนไลน์ แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังมีกลุ่มคนที่ต้องการจะเห็นสินค้าจริงก่อนทำการซื้อขาย และตลาดนัดก็ยังเป็นศูนย์รวมของสินค้าหลายประเภทที่ยังตอบโจทย์สำหรับคนที่ต้องการสินค้าหลายๆอย่างในทันทีและราคาถูก แม้ว่าจะมีขายถูกกว่าในร้านค้าออนไลน์ แต่บางคนก็ไม่อยากรอและไม่อยากจะลุ้นว่าจะได้ของดี มีคุณภาพ หรือต้องเสียเวลาเครมสินค้าอีกไหมหากได้ของชำรุดเสียหายมา ดังนั้นลองหาสินค้าที่เหมาะกับตัวมาลองขายดู ลงทุนเริ่มต้นแนะนำให้ขายเป็นร้านเล็กๆก่อน ต้นทุนก็จะมี ค่าเช่าพื้นที่ ค่าอุปกรณ์และค่าสินค้า

3. ขายประกัน

ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันภัยรถยนต์ ก็สามารถไปสมัครตัวแทนขายและเริ่มต้นอาชีพเสริมนี้ได้ สิ่งสำคัญคือทักษะในการจบการขาย การพูดจาชี้ให้เห็นความสำคัญข้อดีข้อด้อย มีทักษะในการพูดสร้างแรงจูงใจ หรือหากพูดไม่เก่งแต่ข้อมูลแน่น ลองรวบรวมความกล้า ไม่แน่มันอาจจะกลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้งามๆ 

4. พนักงาน Home Pro

หากเบื่อไม่อยากทำงานอยู่บ้าน อยากออกมาทำงานข้างนอกพบปะผู้คน การสมัครเป็นพนักงานขายของที่โฮมโปรคือทางเลือกที่เหมาะเลยทีเดียว เพราะโฮมโปรได้เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในการทำงานมาร่วมงานด้วย โดยการเปิดโครงการที่มีชื่อว่า “YOUNG SMART” สนับสนุนการจ้างงานผู้สูงอายุ ซึ่งการเป็นพนักงานจะมีหน้าที่ดูแลลูกค้า แนะนำสินค้า ดูแลสินค้าและตรวจสอบสินค้าในชั้นวางหรือโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ 

5. พนักงานร้าน Krispy Kreme

หนึ่งในบริษัทที่ให้โอกาสเปิดรับพนักงานผู้สูงวัยคือ Krispy Kreme (คริสปี้ครีม) และโดยรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่ยังมีไฟในการทำงาน สุขภาพแข็งแรง โดยไม่จำเป็นต้องมีวุฒิการศึกษา สามารถเลือกเวลาทำงานรายชั่วโมงได้ ไม่จำกัดเวลาในการทำงาน โดยมีหน้าที่หลักๆคือ ขายขนม จัดขนมใส่กล่อง เก็บและเช็ดทำความสะอาดโต๊ะ 

6. ทำงานฝีมือขาย

สำหรับผู้สูงอายุหญิงที่มีฝีมือในการเย็บ ปัก ถัก ร้อย ลองเอาความรู้ความสามารถตรงนั้นมาต่อยอดผลิตสินค้างานฝีมือแบบ Made to Order ดู เช่น สร้อยคอ ตุ๊กตา กระเป๋า ของกระจุกกระจิกน่ารักๆ หรือถักหูจับกระเป๋า ฯลฯ งานฝีมือที่เน้นใส่ใจรายละเอียด สามารถสร้างกำไรได้มากกว่าเท่าตัว

7. ทำอาหารขาย

เมนูโฮมเมดหรือเมดทูออเดอร์ เหมาะสำหรับคนที่อยากทำงานอยู่บ้านและมีฝีมือในด้านการทำอาหาร คุณอาจจะเปิดเพจหรือเว็บไซต์ เพื่อไว้เป็นช่องทางในการรับออเดอร์ อาจจะจัดทำเป็นชุดข้าวกล่องส่งขายก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว

8. รับเลี้ยงเด็ก

ใช้เวลาว่างในการับเลี้ยงเด็ก พ่อแม่ที่ต้องออกไปทำงานทุกวันอาจไม่มีเวลาดูแลบุตร หรืออาจต้องไปทำธุระที่ไม่สามารถนำเด็กไปได้ ทางเลือกสำหรับพวกเขาก็คือการหาพี่เลี้ยงหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยให้เริ่มจากเพื่อนบ้านในละแวกจะง่ายหน่อย เนื่องจากมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ความใจเนื้อเชื่อใจก็มีแล้วในระดับหนึ่ง เก็บผลงานไปเรื่อยๆแล้วจึงค่อยประกาศรับเลี้ยงเด็กอาจจะติดป้ายประกาศบริเวณหน้าหมู่บ้าน

9. บริการอาบน้ำ-ตัดขนสัตว์เลี้ยง

ใช้พื้นที่ว่างบริเวณข้างบ้านเปิดเป็นช็อปเล็กๆ ให้บริการอาบน้ำ ตัดขน สัตว์เลี้ยง อาจจะเปิดบริการเสริมด้วยการรับเลี้ยงสัตว์ พาสัตว์เลี้ยงไปเดินเล่น เป็นต้น

10. ซื้อแฟรนไชส์

ทางเลือกสำคัญคนที่พอมีทุนสำหรับซื้อแฟรนไชส์สักอย่างหนึ่งมาสร้างอาชีพเสริม ข้อดีของระบบแฟรนไชส์ก็คือ มีการวางระบบไว้ให้เรียบร้อยแล้วในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น การขาย การตลาด อุปกรณ์ และที่สำคัญเป็นแบรนด์ที่ติดตลาดแล้ว ไม่ต้องเสียเวลามาสร้างแบรนด์เอง

11. ธุรกิจการเกษตร

การปลูกต้นไม้ ปลูกผัก เลี้ยงปลาสวยงาม ฯลฯ งานอดิเรกเหล่านี้สามารถพัฒนาไปเป็นธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุได้ อาจเริ่มตั้งแต่ปลูกไว้กินเองเมื่อเหลือก็นำออกขาย ซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันมีผู้สูงวัยจำนวนไม่น้อยที่พัฒนาจากงานอดิเรก จนกลายเป็นอาชีพสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

12. ธุรกิจฟรีแลนซ์/ที่ปรึกษาให้กับองค์กรต่าง ๆ

ด้วยประสบการณ์ของผู้สูงวัยที่สั่งสมมายาวนาน โดยเฉพาะงานที่ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะด้านและมีความน่าเชื่อถือ เช่น แพทย์ นักบัญชี นักการเงิน-การธนาคาร นักเขียน นักแปล ฯลฯ เป็นงานที่สามารถทำที่บ้าน หรือทำได้ตามเวลาที่ต้องการ นอกจากนี้หลายๆ องค์กรมักจะเชิญผู้เกษียณอายุที่มีความเชี่ยวชาญกลับทำงานเป็นที่ปรึกษาในด้านต่างๆ เพราะมีประสบการณ์ในการทำงานและการแก้ไขปัญหาได้ดีกว่า ซึ่งการจ้างงานลักษณะนี้ เป็นหนึ่งในวิธีบริหารต้นทุนแรงงานของธุรกิจในปัจจุบัน เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับพนักงานประจำ

13. ธุรกิจ Influencer

เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ผู้สูงวัยสามารถสร้างเป็นธุรกิจทำเงินได้ สำหรับ Influencer หรือผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น บล็อกเกอร์ ยูทูปเปอร์ อินสตราแกรมเมอร์

ผลการวิจัยทางการตลาด The power of influencer marketing บ่งชี้ว่า จากสถิติการใช้ Influencer เพียงจำนวน 3% สามารถสร้างผลกระทบและการรับรู้บนโซเชียลมีเดียได้มากถึง 90% และการเลือกใช้ Influencer สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับแบรนด์ได้มากถึง 65% โดยเฉพาะคนยุค Millennial (อายุ 24-35 ปี) และ Gen Z (อายุ 16-23 ปี) จะค่อนข้างเชื่อถือในตัว Influencer มากกว่าแคมเปญโฆษณาราคาแพง

ทำให้บริษัทโฆษณาหรือคนที่อยากทำการตลาดในกลุ่ม Gen Z Millennial หันมาจ้าง Influencer มากขึ้น เช่น กูรูความงามและแฟชั่น คนที่ชอบท่องเที่ยวและชิมอาหาร ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเกม ดนตรี ภาพยนตร์ รวมไปถึง Celebrity ด้วย

14. ปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์

สำหรับผู้สูงอายุที่พอจะมีกำลังทรัพย์อยู่บ้าง อาจซื้อห้องแถว ห้องเช่า หรือคอนโดสักห้องไว้เพื่อปล่อยเช่าอีกทีก็เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ

สมัยนี้หากสามารถซื้อห้องในทำเลดี ๆ ได้ อาจสามารถปล่อยเช่าได้ในราคาดีเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น ย่านอโศกหรือทองหล่อ ถ้าเป็นห้องเช่าก็อาจจะเก็บค่าเช่าได้ถึงเดือนละ 9,000 – 10,000 บาท หรือถ้าเป็นห้องคอนโดก็อาจจะได้สูงถึงเดือนละ 13,000 – 15,000 บาทเลยทีเดียว รับเงินรายเดือนได้เลยสบาย ๆ แต่ย่านเหล่านี้ก็ค่อนข้างราคาสูงอยู่เหมือนกัน

หากใครที่ไม่ได้มีงบประมาณสูงมาก อาจมองหาทำเลที่อยู่ชานเมืองหน่อย แต่ก็ยังสามารถเดินทางได้สะดวก เช่น ย่านบางนา วงเวียนใหญ่ พญาไท ราชเทวี เป็นต้น

15. ทำธุรกิจตู้หยอดเหรียญ

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เห็นตู้หยอดเหรียญเต็มไปหมด ไม่ว่าจะตู้กดน้ำ ตู้ซักผ้า ตู้เติมเงิน หรือตู้เติมน้ำมันด้วยความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งาน

ธุรกิจนี้จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าลงทุนไม่ใช่น้อย และถ้ามองดี ๆ ธุรกิจนี้ก็เป็นอีกธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากไม่มีภาระให้ต้องคอยดูแลมากนัก จะมีก็เพียงค่าดูแลรักษาตู้ และคอยเก็บเหรียญที่หยอดเท่านั้นเอง

หน่วยงานฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น

1.โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร  เว็บไซต์  http://www.bmatraining.ac.th/


2.CMU LIFELONG EDUCATION ม.เชียงใหม่  เว็บไซต์ https://www.lifelong.cmu.ac.th/

ตัวอย่างสถานพักฟื้นผู้สูงอายุในประเทศไทย

THE ASPEN TREE PROJECTS  From MQDC

Jin Wellbeing County  From รพ.ธนบุรี 

Senior Complex Project  From รพ.รามาธิบดี - ธนารักษ์ 

< ย้อนกลับ หน้าหลัก