6 เทคนิคเขียนแผนธุรกิจง่ายๆ
ผลจากการวิเคราะห์ SWOT
บริษัทสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ และการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสม อาทิ
ทำให้เกิดความคิดรอบด้าน
ทำให้เราได้มีข้อมูลทางธุรกิจ สามารถนำไปใช้ในธุรกิจ
เป็นการแก้ไขปัญหาแบบไม่รีรอ ทันต่อสถานการณ์
สร้างความรับผิดชอบให้กับบุคลากรทุกระดับ
เป็นการคิดในเชิงสร้างสรรค์
ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร พนักงาน ที่ปรึกษา และองค์กรภายนอก (ธนาคาร ฯลฯ) เป็นต้น
เป็นการสร้างอนาคตให้กับธุรกิจ (ไม่ย่ำเท้าอยู่กับที่)
สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์อาจเกิดจากการระดมความคิดของพนักงานในระดับต่าง ๆ ที่เขามองเห็นปัญหาหรืออุปสรรคในงานของเขาเองได้
การมองไกลออกไป อาทิ สังคมได้รับการบริการที่ดีขึ้น สินค้าที่ดีขึ้น สังคมมั่นคง มีความสุข
- ร่าง Excutive Summary
Executive Summary คือสรุปโดยย่อของธุรกิจเรา ซึ่งจะใช้ในการขอทุนจากเหล่านักลงทุน หรือผู้บริหารให้อนุมัติแผนงานของเรา สำหรับใครที่ทำธุรกิจของตัวเองสามารถข้ามการเขียน Executive Summary ไปได้ แต่สำหรับคนที่ทำงานในองค์กรหรือกำลังระดมทุน Startup การเขียน Executive Summary จึงสำคัญถึงขนาดเป็นตัวชี้วัดว่าเราจะเริ่มทำธุรกิจเลยไหมทีเดียว
การเขียน Executive Summary ที่ดี ควรกระชับ ตรงประเด็น และมีหัวข้อเหล่านี้ประกอบอยู่ด้วย
ธุรกิจของเราขาย หรือให้บริการอะไร
เป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจ
ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของเรา พร้อมบอกจุดเด่นที่ทำให้เราได้เปรียบคู่แข่ง
กลุ่มเป้าหมาย และแผนงานทางการตลาด
สถานการณ์ทางการเงินและรายได้ในปัจจุบัน
รายได้ประมาณการในอนาคต หากได้รับเงินทุนหรือการอนุมัติให้ลงมือทำ
จำนวนเงินที่ต้องการในการทำธุรกิจ
ทีม หรือผู้มีส่วนร่วมในการทำธุรกิจ
2. (ร่าง) วิธีการทำธุรกิจ และเป้าหมายของการทำธุรกิจ
พยายามตอบให้ได้อย่างชัดเจนว่า ธุรกิจของเราทำอะไร และมีเป้าหมายจะทำอะไร สองสิ่งนี้จะเป็นพื้นฐานให้เราสร้าง Business Plan ได้อย่างแม่นยำ หัวข้อที่ควรมีได้แก่
โครงสร้างธุรกิจ
อุตสาหกรรมของสินค้า หรือบริการที่เราจำหน่าย
วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ และจุดยืนของแบรนด์
สิ่งที่เคยทำมาแล้วประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว
เป้าหมายธุรกิจในอนาคต ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ตัวอย่าง
บริษัท A เป็น Startup ขายรองเท้าผ้าใบที่มีจุดเด่นให้ผู้ซื้อสามารถ Customize ได้ตามต้องการ เป้าหมายคือให้ผู้ซื้อบอกเล่าตัวตนผ่านรองเท้าผ้าใบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใส่ติดตัวเป็นประจำได้ และสิ่งนี้เองเป็นจุดเด่นที่ทำให้เราแตกต่างจากตลาดและคู่แข่งทั่วไป จากการทำธุรกิจพบว่าเป็นที่นิยมในกลุ่มชายหญิงในช่วง Gen Z ที่เชื่อในความเป็นปัจเจก และชอบแสดงตัวตนบนโลกโซเชียล แต่ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่ม Gen X ที่ชื่นชอบความเรียบง่ายและมีแบรนด์ประจำที่ชอบใส่กันอยู่แล้ว
เป้าหมายธุรกิจในระยะสั้นคือสร้าง Engagement ในหมู่ Gen Z ให้ได้เพิ่มขึ้น 30% ภายใน 6 เดือน และสร้างกำไรเพิ่มเติมจากกลุ่มเป้าหมายให้ได้ 12% ภายในหนึ่งปี
3. ทำ Market Analysis
การทำ Market Analysis สำคัญต่อการเขียน Business Plan ในแง่การเป็น Logic ของกลยุทธ์ที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายธุรกิจที่ตั้งไว้ เพื่อให้เรารู้และตระหนักว่าเป้าหมายนั้นเป็นไปได้หรือไม่ และมีปัจจัยทางการตลาดอื่น ๆ ที่ควรคำนึงถึงหรือไม่ การทำ Market Analysis ประกอบไปด้วย
ในยุคการทำธุรกิจออนไลน์อย่างปัจจุบัน การทำ Market Analysis ที่ดีต้องอาศัยเครื่องมือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยประมวลผลข้อมูล เช่น Social Listening Tool ที่ช่วยวิเคราะห์แนวโน้มตลาด คอนเทนต์ของคู่แข่ง และความเห็นของกลุ่มลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ของเรา ทำให้เรามีข้อมูลที่มากพอและแม่นยำที่จะเขียนแผนธุรกิจต่อไปได้
การทำ SWOT Analysis (วิเคราะห์ธุรกิจ)
การทำ Brand and Product Analysis (วิเคราะห์แบรนด์และสินค้า)
การทำ Competitor Analysis (วิเคราะห์คู่แข่ง)
การทำ Customer Analysis (วิเคราะห์กลุ่มลูกค้า)
ตัวอย่าง
แบรนด์ A Startup ขายรองเท้าผ้าใบที่มีจุดเด่นให้ผู้ซื้อสามารถ Customize ได้ตามต้องการ ทำ Market Analysis และพบว่ารองเท้าของตัวเองเป็นที่นิยมในช่องทาง TikTok แม้จะมีจุดเสียเปรียบที่ราคาค่อนข้างแพง แต่ผู้บริโภคก็ยังชื่นชอบในคุณภาพ และชอบที่สามารถสร้างสรรค์รองเท้าให้เป็นแบบของตัวเองได้ เมื่อเทียบกับคู่แข่งผ่าน Social Listening Tool แล้วก็ยังไม่พบว่าแบรนด์ของเราด้อยกว่าคู่แข่งในจุดใดอีกนอกจากความแพง แต่ในยุคที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวนัก ก็ทำให้เป็นจุดบอดที่ทำให้กำไร 12% ที่ตั้งไว้เป็นไปได้ยากขึ้น
4. ทำ Marketing Plan
หลังจากมีข้อมูลเพียงพอจากการทำ Market Analysis แล้ว ขั้นตอนต่อไปของการเขียน Business Plan ก็คือการสร้างแผนการตลาดที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้ การทำ Marketing Plan ที่ดีควรมีข้อมูลเหล่านี้อยู่
กลยุทธ์ทางด้านการสื่อสาร
กลยุทธ์การซื้อสื่อ
กลยุทธ์การทำราคา และโปรโมชัน
กลยุทธ์การทำ Market Segmentation
ตัวอย่าง
หลังจากบริษัท A รู้ช่องทางในการสื่อสาร เทรนด์ตลาด และกลุ่มเป้าหมายแล้ว ก็คิดค้นกลยุทธ์ในการทำงานร่วมกับ KOL บน TikTok ที่ตัวแบรนด์ได้รับความนิยมมากขึ้น ในลักษณะของการรีวิว, ทำ Live, และ Affiliate ที่เน้นการทำวิดีโอสั้นเอาใจกลุ่ม Gen Z และใช้เงินซื้อสื่อโฆษณาบน TikTok เพื่อเพิ่มการเข้าถึง และ Engagement
สำหรับราคาและโปรโมชัน บริษัท A ใช้ช่วง Double Digit ในการลดราคาเพื่อขายรองเท้าให้กลุ่มลูกค้าใหม่ และขาย Accessories เพิ่มเติมเพื่อแลกกับคะแนนสะสมสำหรับลูกค้าเก่า ซึ่งแน่นอนว่าจะทำแบบนี้ได้ บริษัท A ได้มีการทำ Market Segmentation ระหว่างลูกค้าใหม่และเก่าเอาไว้แล้ว เพื่อให้คอนเทนต์การตลาดมีความ Personalized ไปกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
5. วางกลยุทธ์ด้านการปฏิบัติการและการขนส่ง
หลังจากได้ Marketing Plan แล้ว ขั้นตอนต่อไปของการทำ Business Plan คือการดูแล Logistics and Operations เพื่อให้แน่ใจว่ามีทรัพยากรเพียงพอรองรับต่อแผนการตลาดที่สร้างมา สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่
จำนวนบุคลากรที่มี
จุดจำหน่าย
การขนส่ง
การดูแลบริการหลังการขาย
ตัวอย่าง
หลังจากบริษัท A ทำ Marketing Plan เสร็จแล้ว ก็เริ่มดูจำนวนพนักงาน ว่ามีแอดมินดูแลช่องทางออนไลน์ครบไหม มี Digital Marketer ที่ซื้อสื่อบนช่องทาง TikTok ได้หรือไม่ และมีใครที่จัดการดูแลความสัมพันธ์กับ KOL ทางแบรนด์มีจุดจำหน่ายสินค้าที่เหมาะสมกับช่องทางการตลาดหรือไม่ และเตรียมคนให้พร้อมสำหรับการ Live และการดูแลลูกค้าให้ทั่วถึงหลังการขาย ทำลิสต์ออกมาว่ามีใครที่เกี่ยวข้องบ้าง และต้องทำอะไรบ้าง
6. วางแผนด้านการเงิน
ขั้นตอนสุดท้ายของการทำ Business Plan คือการวางแผนด้านการเงิน เพื่อให้แน่ใจว่าแผนการตลาดที่เราคิดมาเพื่อให้ตอบโจทย์เป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงค่าใช้จ่ายเรื่องบุคลากรและการปฏิบัติการณ์เป็นไปได้จริง และคุ้มค่าที่สุด สิ่งสำคัญที่ต้องมีในการวางแผนด้านการเงิน ได้แก่
รายได้ของบริษัท และ Cash flow ในปัจจุบัน
คาดการณ์รายรับ-รายจ่าย ของบริษัท
งบประมาณที่ต้องใช้เพิ่มเติมในการจัดการทรัพยากร
อ้างอิงแหล่งข้อมูล :
เว็บไซต์ "https://blog.mandalasystem.com/th/business-plan"