GRAPHIC DESIGN
จิตวิทยาของสี
(Color Psychology)
(Color Psychology)
จิตวิทยาของสี (Color Psychology) มีผลต่อการรับรู้ทางจิตใจของมนุษย์ สีกับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการตลาด ซึ่งหากเลือกสีที่เหมาะสมนั้นจะช่วยให้การสื่อสารทางการตลาดของเรานั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
“จิตวิทยาสีกับความรู้สึกนั้นมีความสัมพันธ์กัน” ทำให้ศาสตร์สมัยใหม่ๆ หลายด้านเลือกนำจิตวิทยาสีมาใช้ในการออกแบบสินค้า ผลิตภัณฑ์ อาคารสถานที่ สื่อ ไปจนถึงใช้เพื่อการบำบัดร่างกายและจิตใจ
แหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.novabizz.com/CDC/Interior/Interior_Colour01.htm#ixzz3wXMnEkGQ
ในปี 1966 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษอย่างเซอร์ไอแซค นิวตันค้นพบว่า เมื่อแสงสีขาวบริสุทธิ์ส่องผ่านปริซึมจะทำให้เกิดแสงสีอื่นๆ ที่มองเห็นได้ตามมา แถมนิวตันยังพบอีกด้วยว่าแสงแต่ละชนิดก็มีคลื่นแสงที่แตกต่างกันออกไปไม่ปะปนกัน การทดลองเพิ่มเติมยังแสดงให้เห็นว่าแสงสามารถรวมกันเป็นสีอื่นได้ เช่น แสงสีแดงผสมกับแสงสีเหลืองทำให้เกิดสีส้ม และบางสี เช่นสีเขียวและสีม่วงแดงจะเป็นสีที่ตัดกัน เป็นต้น
จิตวิทยาของสี (Color Psychology) ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไรบ้าง ?
By Thanatporn Suthisansanee / การตลาด, จิตวิทยาการตลาด / Color Psychology, จิตวิทยาสี
แหล่งที่มาของข้อมูล : https://thewisdom.co/content/color-psychology-in-marketing/
By Thanatporn Suthisansanee / การตลาด, จิตวิทยาการตลาด / Color Psychology, จิตวิทยาสี
แหล่งที่มาของข้อมูล : https://thewisdom.co/content/color-psychology-in-marketing/
สีแดง
ดึงดูดความสนใจมากที่สุดและเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่รุนแรง เช่น ความรัก ความหลงใหลและความโกรธ เป็นสีสากลที่แสดงถึงความแข็งแกร่ง อำนาจ ความกล้าหาญและอันตราย สีแดงมีชีวิตชีวาเร้าใจและน่าตื่นเต้นโดยมีส่วนเชื่อมโยงกับเรื่องเพศ เรื่องความปลอดภัย และเพิ่มความอยากอาหาร
ย่อ : ให้ความรู้สึกเร่าร้อน รุนแรง อันตราย ตื่นเต้น
สีส้ม / สีแสด
การให้กำลังใจในแง่ดีและความมั่นใจในตนเอง เป็นคนเปิดเผย สีส้มสื่อถึงความอบอุ่นและความสุข พลัง และเป็นการผสมผสานของสีแดงเข้ากับสีเหลือง สีส้มสามารถสร้างแรงบันดาลใจความกล้าหาญความกระตือรือร้นความกระปรี้กระเปร่าและความมีชีวิตชีวา นอกจากนี้ยังสามารถมีผลกระตุ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความอยากอาหาร
ย่อ : ให้ความรู้สึก สดใส ร้อนแรง เจิดจ้า มีพลังอำนาจ
สีเหลือง
สีของจิตใจและสติปัญญาสะท้อนกับสมองซีกซ้ายด้านตรรกะ เป็นความคิดสร้างสรรค์โทนของแนวคิดใหม่ ๆ และวิธีการทำสิ่งใหม่ ๆ ด้วยสีที่เบาที่สุดของสเปกตรัม สีเหลืองจึงยกระดับและส่องสว่างให้ความหวัง ความสุข และความสนุกสนาน เป็นสีที่อบอุ่นและมีความสุขที่สร้างความร่าเริงและขี้เล่นทำให้จิตวิญญาณของผู้คนสดใส
สีเหลืองที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล ความหวาดกลัวความปั่นป่วน และการเผชิญหน้า โดยเฉพาะในคนที่เครียดอยู่แล้วจึงอาจต้องระมัดระวังสีเหลืองที่มากเกินไป
ย่อ : ให้ความรู้สึก สว่าง อบอุ่น แจ่มแจ้ง ร่าเริง ศรัทธา มั่งคั่ง
สีเขียว
เป็นธรรมชาติของความสมดุลและการเติบโต สงบ และปลอดภัย เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีการรักษาและความมั่นคง นอกจากนี้ยังแสดงถึงความมั่นคงและการพึ่งพาตนเอง สีเขียวเข้มเกี่ยวข้องกับการเงิน และศักดิ์ศรีจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการทำเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการเงิน ในขณะที่สีเขียวอ่อนเกี่ยวข้องกับการเกิดใหม่ การเจริญเติบโต และความสดใหม่ ในทางธุรกิจสีเขียวมีประโยชน์ต่อสุขภาพและการรักษาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ แสดงถึงปลอดภัย อินทรีย์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ย่อ : ให้ความรู้สึก สดใส สดชื่น เย็น ปลอดภัย สบายตา มุ่งหวัง
สีน้ำเงิน ฟ้า
ความไว้วางใจและความสงบสุข มันแสดงให้เห็นถึงความภักดีและความซื่อสัตย์ตลอดจนความอนุรักษ์นิยมและความสามารถในการคาดเดา สิ่งนี้มีผลตรงกันข้ามกับสมองมากกว่าสีแดง สีน้ำเงินเป็นสีที่สงบ ลดความตึงเครียด และความกลัว ชะลออัตราชีพจร และลดความอยากอาหาร ในขณะเดียวกันสีน้ำเงิน และสีฟ้าสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดปัญญาและอุดมคติที่สูงขึ้น แต่ก็จริงใจสงวนไว้และเงียบ ความเย็นของมันสร้างความรู้สึกปลอดภัย
สีน้ำเงินจึงเป็นสีที่คนทั่วไปนิยมใช้มากที่สุด ในการใช้เพื่อให้คนรู้สึกปลอดภัย นิยมใช้ในเครื่องแบบธุรกิจและสายการบิน มันเกี่ยวข้องกับความไว้วางใจ ความซื่อสัตย์ สุจริตและความน่าเชื่อถือจึงช่วยในการสร้างความภักดีของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
ย่อ สีน้ำเงิน : ให้ความรู้สึก เงียบขรึม สงบสุข จริงจัง มีสมาธิ
ย่อ สีฟ้า : ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่ง แจ่มใส กว้าง ปราดเปรื่อง
สีม่วง
เป็นสีแห่งจินตนาการและจิตวิญญาณสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้มีอุดมการณ์สูง นอกจากนี้ยังเป็นสีที่แสดงความครุ่นคิด ช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่อกับความคิดที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น สีม่วงแสดงถึงความมั่งคั่ง มักใช้เพื่อแสดงถึงผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงหรือดีกว่า หากคุณอยู่ในธุรกิจบริการให้ใช้สีม่วงในการตลาดเพื่อส่งเสริมบริการระดับพรีเมียม
ย่อ : ให้ความรู้สึก เศร้า หม่นหมอง ลึกลับ
สีชมพู
ย่อ : ให้ความรู้สึก อ่อนหวาน เป็นผู้หญิง ประณีต ร่าเริง
สีน้ำตาล
ย่อ : ให้ความรู้สึก แห้งแล้ง ไม่สดชื่น น่าเบื่อ
สีดำ
ย่อ : ให้ความรู้สึก มืดมิด เศร้า น่ากลัว หนักแน่น
สีขาว
ย่อ : ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ว่างเปล่า จืดชืด
สีทอง
ย่อ : ให้ความรู้สึก มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์
วงจรของสี (Color Wheel)
แหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.novabizz.com/CDC/Interior/Interior_Colour01.htm#ixzz3wXMnEkGQ
แหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.novabizz.com/CDC/Interior/Interior_Colour01.htm#ixzz3wXMnEkGQ
วงจรสี คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ เริ่มตั้งแต่แม่สี 3 สี เมื่อผสมใหม่จะเกิดเป็นสีใหม่ขึ้นมาจนครบวงจรของสีทั้งหมด 12 สี โดยเราสามารถแบ่งการเกิดสีได้เป็น 3 ขั้น ดังนี้
สีขั้นที่ 1 (Primary Colors) หรือ "แม่สี 3 สี" ได้แก่
1) สีแดง
2) สีเหลือง
3) สีน้ำเงิน
สีขั้นที่ 2 (Secondary Colors) คือสีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ ๆ ระหว่างแม่สี 3 สี จนได้สีใหม่เพิ่มขึ้นอีก 3 สี ได้แก่
1) สีม่วง (สีแดง+สีน้ำเงิน)
2) สีเขียว (สีเหลือง+สีน้ำเงิน)
3) สีส้ม (สีแดง+สีเหลือง)
สีขั้นที่ 3 (Tertiary Colors) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ ๆ ระหว่างแม่สี 3 สี กับสีขั้นที่ 2 จะได้สีใหม่เพิ่มขึ้นอีก 6 สี ได้แก่
1) สีส้มแดง (สีแดง+สีส้ม)
2) สีม่วงแดง (สีแดง+สีม่วง)
3) สีเขียวเหลือง (สีเหลือง+สีเขียว)
4) สีเขียวน้ำเงิน (สีน้ำเงิน+สีเขียว)
5) สีม่วงน้ำเงิน (สีน้ำเงิน+สีม่วง)
6) สีส้มเหลือง (สีเหลือง+สีส้ม)
วรรณะของสี (Tone of Color)
แหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.novabizz.com/CDC/Interior/Interior_Colour01.htm#ixzz3wXMnEkGQ
แหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.novabizz.com/CDC/Interior/Interior_Colour01.htm#ixzz3wXMnEkGQ
วรรณะสี คือ ความแตกต่างของสีแต่ละกลุ่มในวงจรสี โดยแบ่งความรู้สึกด้านอุณหภูมิ เป็น 2 วรรณะ ดังนี้
1. Warm Tone สีวรรณะร้อน ประกอบด้วย สีเหลือง, ส้มเหลือง, ส้ม, ส้มแดง, แดง และม่วงแดง
2. Cool Tone สีวรรณะเย็น ประกอบด้วย สีม่วง, ม่วงน้ำเงิน, น้ำเงิน, เขียวน้ำเงิน, เขียว และเขียวเหลือง
สีตรงข้าม คือ สีที่อยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกันในวงจรสี และมีการตัดกันอย่างเด่นชัด ซึ่งจะให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกัน และหากนำมาผสมกันจะได้สีกลาง (สีเทา) มีทั้งหมด 6 คู่ ได้แก่
คู่ที่ 1 สีเหลือง <ตรงข้าม> สีม่วง
คู่ที่ 2 สีแดง <ตรงข้าม> สีเขียว
คู่ที่ 3 สีน้ำเงิน <ตรงข้าม> สีส้ม
คู่ที่ 4 สีเขียวเหลือง <ตรงข้าม> สีม่วงแดง
คู่ที่ 5 สีส้มแดง <ตรงข้าม> สีเขียวน้ำเงิน
คู่ที่ 6 สีม่วงน้ำเงิน <ตรงข้าม> สีส้มเหลือง
สีข้างเคียง คือ สีที่อยู่เคียงข้างกัน ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาในวงจรสี ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันเมื่อนำมาจัดเรียงต่อกัน ส่วนใหญ่จะเป็นสีในวรรณะเดียวกัน ได้แก่
ชุดสีที่ 1 = สีแดง - สีส้มแดง - สีส้ม / สีม่วงแดง - สีแดง - สีส้มแดง
ชุดสีที่ 2 = สีส้มเหลือง - สีเหลือง - สีเขียวเหลือง / สีส้มแดง - สีส้ม - สีส้มเหลือง
ชุดสีที่ 3 = สีเขียว - สีเขียวน้ำเงิน - สีน้ำเงิน / สีเขียวน้ำเงิน - สีเขียว - สีเขียวเหลือง
ชุดสีที่ 4 = สีม่วงน้ำเงิน - สีม่วง - สีม่วงแดง / สีม่วงน้ำเงิน - สีน้ำเงิน - สีเขียวน้ำเงิน
สีต้นแบบของแบรนด์ (Brand Achetypes)
แหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.primal.co.th/th/marketing/what-is-brand-archetypes/
แหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.primal.co.th/th/marketing/what-is-brand-archetypes/
สร้างตัวตนแบรนด์ด้วย BRAND ARCHETYPES
ลูกค้าจำได้ก็ขายได้มากกว่า
Brand Archetypes คือต้นแบบของแบรนด์ที่สะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality) สิ่งนี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่าแบรนด์ของคุณนั้นมีบุคลิกเป็นอย่างไร มีอารมณ์ความรู้สึกหรือการแสดงออกด้วยโทนแบบไหน (Mood and Tone) เพื่อที่จะสามารถสื่อสารความเป็นตัวตนจนผู้บริโภคให้เกิดการรับรู้และจำตัวตนของแบรนด์ได้มากขึ้น บุคลิกของแบรนด์ 12 รูปแบบ สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภคเพื่อสร้างภาพจำให้เป็นที่รู้จักได้แก่
INNOCENT - ผู้บริสุทธิ์
SAGE - ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้คำปรึกษา
EXPLORER - นักสำรวจ
OUTLAW - ผู้ขบถ
MAGICIAN - ผู้เชื่อแห่งพลังความเป็นไปได้
HERO - ผู้พิชิต
LOVER - คนรัก
JESTER - ผู้มีอารมขัน สนุกสนาน
EVERYMAN - ผู้เป็นตัวแทนผู้คนทั่วไป
CAREGIVER - ผู้ช่วยเหลือผู้อื่น
RULER - ผู้ที่ต้องการควบคุม
CREATOR - ผู้สร้างสรรค์
1. Innocent – ผู้บริสุทธิ์, ผู้ต้องการความปลอดภัย
Innocent คือบุคลิกภาพที่เน้นการมองเห็นคุณค่าและความดีในสิ่งต่าง ๆ รวมถึงมีความอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี สดใส ไม่มีพิษ ไม่มีภัย และบริสุทธ์ ทำให้แบรนด์ที่ต้องการสร้าง Brand Archetypes จากบุคลิกนี้
สร้างภาพจำ : เน้นนำเสนอส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่บริสุทธิ์ ผ่านอารมณ์ที่สงบ ผ่อนคลายและเบาสบาย
2. Sage – ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้คำปรึกษา
Sage คือบุคลิกภาพที่เน้นการเป็นผู้รู้ ผู้มอบข่าวสาร หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์และพร้อมให้คำแนะนำกับลูกค้าที่เข้ามาหา
การวางบุคลิกแบรนด์เช่นนี้ จะต้องพยายามบาลานซ์ให้ดี เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์รู้มากเกินไปหรืออวดรู้เกินไป เพราะนอกจากจะทำให้ภาพจำกลายเป็นทางลบแล้ว ลูกค้าก็อาจจะไม่รู้สึกสบายใจที่จะเข้ามาหาข้อมูลจากแบรนด์ด้วย โดยตัวอย่างแบรนด์ที่สร้างบุคลิกภาพตนเองให้เป็นลักษณะนี้ก็เช่น Google เป็นต้น
3. Explorer – นักสำรวจ
บุคลิกของ Explorer เป็นผู้ที่สนใจการเดินทางเพื่อค้นพบประสบการณ์ใหม่ ๆ พวกเขาจึงสะท้อนภาพของความตื่นเต้นในการได้เห็นหรือสัมผัสสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยแบรนด์ที่สร้างภาพจำด้วยบุคลิกนี้ก็จะเน้นการออกนอกกรอบ แสวงหาความท้าทาย และมีพลังงานของการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกตื่นเต้นและอยากผจญภัยไปพร้อมกัน
4. Outlaw – ผู้ขบถ
บุคลิกของ Outlaw แม้จะถูกเรียกว่าขบถแต่ก็ไม่ได้เป็นภาพจำในแง่ลบแต่อย่างใด เพราะแบรนด์ที่ใช้บุคลิกนี้จะเน้นการแสดงภาพของการฉีกกรอบและการออกจากกฎเกณฑ์เดิม ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้มากกว่า ดังนั้น แบรนด์ที่ใช้บุคลิกนี้อาจมีความเป็นตัวของตัวเอง สร้างสรรค์ แตกต่าง และอิสระ รวมถึงชอบการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย
5. Magician – ผู้เชื่อแห่งพลังความเป็นไปได้
Magician ไม่ใช่บุคลิกภาพของนักมายากลที่อาศัยการร่ายเวทมนตร์แต่อย่างใด แต่เป็นลักษณะของการสร้างภาพจำของแบรนด์ที่มีพลังมากกว่าปกติ เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถแก้ปัญหาหรือมีศักยภาพบางอย่างที่แข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น บุคลิกนี้จะเน้นการใช้ความเชื่อและจินตนาการสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่มีจริงและมักใช้ความฝันหรือจินตนาการทำให้ผู้บริโภคจดจำได้ดีขึ้น
6. Hero – ฮีโร่ ผู้พิชิต
ภาพของแบรนด์ที่ใช้บุคลิก Hero มักเป็นลักษณะของแบรนด์ที่สามารถเอาชนะตัวร้าย (ซึ่งอาจเป็นนามธรรมของสิ่งต่าง ๆ เช่น ปัญหาสุขภาพ ฝุ่นควัน มลพิษ ฯลฯ) สามารถเอาชนะอุปสรรค ฝ่าฟันไปถึงจุดหมายที่ต้องการด้วยพลังหรือแนวคิดอันยิ่งใหญ่ โดยเน้นการนำเสนอตนเองเป็นวีรบุรุษ
7. Lover – คนรัก
Lover คือบุคลิกภาพของการสร้างความรักและสร้างอารมณ์เสน่หา โดยแบรนด์ที่เลือกนำเสนอภาพจำนี้ มักจะนำเสนอความรู้สึกต่าง ๆ ที่น่าหลงไหล น่าอยู่ใกล้ชิดให้กับลูกค้า เน้นนำเสนอความสะดวกสบาย การทรีตลูกค้าเป็นเหมือนคนพิเศษ หรือแม้แต่การทำให้ลูกค้าผูกพันด้วยการส่งของขวัญหรือบริการหลังการขาย ทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจ และอยากจะเข้ามามีส่วนร่วมใกล้ชิดกับแบรนด์มากขึ้น
8. Jester – ผู้มีอารมณ์ขัน สนุกสนาน
ตัวตนของความสนุกสนาน เฮฮา นับเป็นบุคลิกหนึ่งที่สร้างภาพจำได้ดีเช่นกัน นอกจากนี้ Jester ยังเป็นบุคลิกที่สะท้อนสีสัน ความมีพลังงานบวก เน้นทำให้ลูกค้ารู้สึกยิ้มแย้มและเข้าถึงอารมณ์แห่งความสุขได้ง่าย แบรนด์ที่ใช้บุคลิกภาพนี้สร้างตัวตนจะเห็นได้ชัดว่าโฆษณาหรือคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่นำเสนอมักมีมุกตลกแทรก หรือมีคาแรกเตอร์ที่คนเข้าถึงได้ง่าย
9. Everyman – ผู้เป็นตัวแทนผู้คนทั่วไป
บุคลิกภาพ Everyman มักจะไม่ได้สะท้อนภาพของความโดดเด่นเหนือใคร แต่กลับเป็นบุคลิกทั่วไปที่ผู้คนเข้าถึงได้ โดยตัวตนของแบรนด์นี้จะเห็นได้ชัดว่าเน้นเรียบง่ายและอยู่กับความเป็นจริง เป็นตัวแทนตัวตนของผู้คนทุกรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ที่ค่อนข้างเป็นผู้ใหญ่และขายสินค้าที่จำเป็นในการใช้ชีวิต เช่น แบรนด์ขายเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน IKEA เป็นต้น
10. Creator – ผู้สร้างสรรค์
บุคลิกของ Creator คือนักสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ต้องการสร้างอะไรที่ดีกว่าเดิมให้โลกด้วยความสามารถของพวกเขา แบรนด์ที่ใช้บุคลิกภาพนี้บ่งบอกตัวตน จะเป็นลักษณะภาพจำของนักคิด อาจมีส่วนผสมของความนอกกรอบและไม่ซ้ำเดิมปะปนอยู่ด้วย
11. Ruler – ผู้ที่ต้องการควบคุม
แบรนด์ที่ใช้บุคลิกภาพของ Ruler มักต้องการสะท้อนภาพของความเป็นผู้นำหรือผู้กำหนดทิศทาง เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าที่มีบุคลิกภาพแบบเดียวกัน โดยแบรนด์ที่ใช้บุคลิกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ระดับหรู เช่น Mercedes-Benz หรือนาฬิกา Rolex ที่มักมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ หรือผู้ที่มีคนอยู่ใต้บังคับบัญชา เป็นต้น
12. Caregiver – ผู้ช่วยเหลือผู้อื่น
Caregiver คือบุคลิกภาพของผู้ที่ชัดเจนว่าเห็นใจผู้คน อยากให้ผู้อื่นมีความสุข มีน้ำใจและไม่เห็นแก่ตัว โดยแบรนด์ที่นำบุคลิกภาพนี้ไปใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบรนด์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เช่น UNICEF หรือแม้แต่บริษัทประกันชีวิตก็ต้องการให้ลูกค้ามองเห็นภาพของตัวแทนที่ต้องการให้ความช่วยเหลือลูกค้าจริง ๆ ด้วยเช่นกัน
< ย้อนกลับ หน้าหลัก