Business Model Canvas
การเขียนแผนธุรกิจ
แผนธุรกิจ คือการวางกลยุทธ์โดยเอาเป้าหมายขององค์กรเป็นที่ตั้ง หลังจากนั้นก็ทำการลิสต์วิธีการ หรือแผนการทำงานที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายนั้น พร้อมกำหนด Timeline ให้ชัดเจนว่าควรจะทำแต่ละอย่างให้เสร็จภายในระยะเวลาเท่าไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด การทำ Business Plan จึงมีความสำคัญสำหรับการทำธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเสมือน Roadmap ให้เราเดินตามไปถึงเป้าหมายได้โดยไม่หลุดโฟกัส และวัดผลได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
Ref.: https://blog.mandalasystem.com/th/business-plan
Components of a business model canvas
เครดิตข้อมูลจาก https://sitthinunt.com/entrepreneurship/write-business-plan/
Step 1: Customer Segments (กลุ่มลูกค้า)
แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
Mass Market
กลุ่มเป้าหมายกว้างๆ แบบที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากนัก โดยมากแล้วกลุ่มลูกค้าแบบนี้จะเป็นกลุ่มลูกค้าของสินค้าที่เป็น Consumer Product (สินค้าอุปโภคบริโภค) เช่นอาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ภายในบ้าน เป็นต้น
Niche Market
กลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง โดยมากแล้วกลุ่มลูกค้าแบบนี้จะเป็นกลุ่มลูกค้าของสินค้าหรือบริการที่เป็น High-involvement (คนต้องคิดและพิจารณาก่อนตัดสินใจ) เช่นบริการที่ปรึกษาสำหรับผู้บริหารระดับสูง บริการทางด้านกฏหมายสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นต้น
Segmented
กลุ่มเป้าหมายแบบแบ่งส่วน โดยที่คุณมีกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการหรือปัญหาที่แตกต่างกันมากกว่า 1 กลุ่ม ซึ่งสินค้าหรือบริการสามารถตอบโจทย์ความต้องการหรือปัญหาได้กับทุกกลุ่ม เพียงแต่ต้องบิดมุมในการนำเสนอ ตัวอย่างเช่นบริการทางกฏหมายสำหรับธุรกิจระหว่างประเทศ และบริการทางกฏหมายมรดก (คุณยังคงส่งมอบบริการทางกฏหมายอยู่ เพียงแต่ความต้องการของทั้ง 2 กลุ่มจะต่างกัน)
Diversify
กลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน โดยที่คุณใช้ความสามารถหรือทรัพยากรที่คุณมีในการสร้างสินค้าหรือบริการที่แตกต่างกันเพื่อกลุ่มคนที่แตกต่างกัน เช่นบริษัทของคุณเป็นบริษัทรับจ้างทำเว็บไซต์ให้กับองค์กรใหญ่ ในขณะเดียวกันคุณอาจจะมีลูกค้าอีกกลุ่มที่มาใช้งานระบบ Delivery สำหรับร้านอาหารที่คุณสร้างไว้ (ทรัพยากรที่คุณมีอยู่คือทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ในการพัฒนาโปรแกรม)
Multi-sided
กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยที่คุณเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อทั้ง 2 กลุ่มเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่นคุณเป็น Marketplace Platform ในการขายของเกี่ยวกับบ้าน กลุ่มเป้าหมายของคุณจะมีทั้งคนที่ขายของเกี่ยวกับบ้าน และคนซื้อของเกี่ยวกับบ้าน
Note: ไม่ว่ากลุ่มลูกค้าของคุณเป็นแบบไหน สิ่งที่คุณควรทำขึ้นมาคือ Buyer Persona
Step 2: Value Proposition (คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า)
หมายถึง การส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าเพราะฉะนั้นต้องตอบตัวเองถึงการมีอยู่ของธุรกิจเราให้ได้
Steve Blank กล่าวว่า “We help X do Y by doing Z” หรือแปลเป็นไทยว่า เราช่วย X ทำ Y โดยที่เราทำ Z โดยที่ X คือกลุ่มลูกค้าที่คุณหมายตา Y คือสิ่งที่เขาจะได้รับและ Z คือสิ่งที่คุณส่งมอบ
Step 3: Channels (ช่องทาง)
หมายถึง สินค้าหรือบริการของคุณจะส่งไปไม่ถึงลูกค้าเลยถ้าคุณไม่มี "ช่องทาง" ช่องทางสามารถแบ่งง่าย ๆ ออกมาได้ 3 รูปแบบ ได้แก่
Owned – ช่องทางที่คุณเป็นเจ้าของเช่นเว็บไซต์ หน้าร้านของคุณเอง แอคเคาท์ Social Media ต่างๆ (ตรงส่วนนี้จริงๆ แล้วเป็นกึ่ง Owned กึ่ง Rented คือคุณเพจเป็นของคุณนั่นแหละ แต่เจ้าของสุดท้ายจริงๆ คือเจ้าของ Social Media Platform)
Earned – การที่คนอื่นไม่ว่าจะเป็น Media, Key Opinion Leader หรือ Influencer ช่วยโปรโมตธุรกิจ สินค้าหรือบริการของคุณโดยที่คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
Paid – การจ่ายเงินให้ Media (เช่นการซื้อโฆษณาบน Social Media, Search Engine, TV หรือสื่อออฟไลน์อื่นๆ), Key Opinion Leader หรือ Influencer ช่วยโปรโมตแบรนด์ สินค้าหรือบริการของคุณ
Step 4: Customer Relationship (ความสัมพันธ์กับลูกค้า)
หมายถึง ความสัมพันธ์ของคุณกับลูกค้า สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 อย่างด้วยกัน (ใน 1 ธุรกิจสามารถมีความสัมพันธ์กับลูกค้าได้มากกว่า 1 แบบ) ได้แก่
Personal Assistance
ความสัมพันธ์แบบผู้ช่วยส่วนบุคคล ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้มักจะมีการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแบบรายบุคคล ตัวอย่างของธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้เช่นร้านตัดผม ร้านสูทแบบสั่งตัด
Dedicated Personal Assistance
ความสัมพันธ์แบบผู้ช่วยส่วนตัว ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้เป็นการขายสินค้าหรือบริการแบบบุคคลเช่นเดียวกับแบบก่อนหน้า แต่จะมีความลึกซึ้งกว่าเช่นจะต้องจำชื่อ หน้า รสนิยม และความชอบของลูกค้าได้ ตัวอย่างของธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้เช่น Digital Agency ที่ให้บริการลูกค้าเจ้าใหญ่ หรือหลักทรัพย์ให้บริการบริหาร Porfolio ส่วนบุคคลสำหรับคนที่ลงทุนเป็นจำนวนมาก
Self-Service & Automated Services
ความสัมพันธ์แบบที่ลูกค้าช่วยตัวเอง ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้มักจะไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง โดยที่ถ้าเป็น Self Service คือการที่ลูกค้าบริการตัวเองเช่นการหยิบของที่ต้องการใน Supermarket แล้วทำการจ่ายเงินที่ Self-Service Checkout ส่วนถ้าเป็น Automated Services คือการที่ลูกค้าแทบจะไม่ต้องทำอะไรด้วยตัวเองเลย ตัวอย่างเช่นบริการ Streaming ที่แนะนำหนังที่น่าสนใจให้กับลูกค้าโดยอัตโนมัติ
Communities
ความสัมพันธ์แบบเครือข่าย ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้มักจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Social Network ต่างๆ หรือเครือข่ายสำหรับคนออกกำลังกาย เป็นต้น
Co-Creation
ความสัมพันธ์แบบช่วยกันสร้าง ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้มักจะนำเอาลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าหรือบริการ ตัวอย่างเช่นการเว็บขายหนังสือเปิดให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการรีวิวและกำหนดความนิยมของหนังสือ หรือร้านไอศครีมเปิดให้ลูกค้าโหวตว่าอยากจะกินไอศครีมรสใหม่รสไหน เป็นต้น
Step 5: Revenue Streams (แหล่งที่มาของรายได้)
แหล่งที่มาของการสร้างรายได้ มีหลากหลาย เช่น
Asset Sales การขายสินค้าที่จับต้องได้ (Tangible product) เช่นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ อาหาร หรือเครื่องดื่ม เป็นต้น
Service Fee การขายบริการ (Intangible product) เช่นการให้บริการที่ปรึกษาทางกฏหมาย หรือการให้บริการการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
Usage Fee การขายตามการใช้งานของลูกค้า (ใช้น้อยจ่ายน้อย ใช้มากจ่ายมาก)เช่นแพ็คเกจอินเตอร์เน็ต
Subscription Fee การขายค่าใช้บริการเป็นรายเดือน/รายปีแบบเหมาๆ เช่นบริการ Streaming หนังที่ให้คุณจ่ายเดือนละหลักร้อยบาทแต่ดูได้แบบไม่จำกัด
Lending/Renting/Leasing การให้ยืมหรือให้เช่าเช่าธุรกิจชุดแต่งงานที่จ่ายค่าเช่าชุด พอเอาไปใช้เสร็จแล้วต้องเอาชุดมาคืน
Licensing การให้ลิขสิทธิ์ เช่นบริษัทผลิตภาพยนตร์ขายสิทธิ์ตัวละครเพื่อให้บริษัทอื่นนำไปสร้างเป็น Model Fiction
Brokerage fees ค่าธรรมเนียมนายหน้า เช่น คุณจ้างโบรกเกอร์ในบริษัทหลักทรัพย์ให้ซื้อขายหุ้นให้กับคุณ เมื่อมี Transaction เกิดขึ้น โบรกเกอร์จะได้เงินจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น
Advertising การจ่ายค่าโฆษณา เช่น การที่คุณจ่ายเงินซื้อ Facebook Ads, Google Ads หรือโฆษณาในโทรทัศน์ เป็นต้น
คำแนะนำ : ให้ทำลิสต์แหล่งรายได้ที่เป็นไปได้ออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อน จากนั้น ค่อยเลือกตัดให้เหลือเฉพาะตัวที่เราคิดว่าน่าสนใจหรือตัวที่คิดว่าเป็นไปได้ การทำแบบนี้จะทำให้เราคิดถึงทุก ๆ ความเป็นไปได้ในการหารายได้ให้กับธุรกิจของเรา
Step 6: Key Resources (ทรัพยากรหลักที่ต้องใช้)
หมายถึง การจะทำของออกมาขาย จะต้องมีทรัพยากรที่ใช้เพื่อสร้างหรือทำของขึ้นมา ทรัพยากรแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
Physical Resources (ทรัพยากรที่จับต้องได้) เช่นวัตถุดิบ สินค้า หรือพวก Raw Materials ต่างๆ
Human Resources (ทรัพยากรบุคคล) เช่นพนักงานในบริษัทของคุณ หรือฟรีแลนซ์ เป็นต้น
Intellectual Resources (ทรัพยากรทางปัญญา) เช่นลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือข้อมูล เป็นต้น
Financial Resources (ทรัพยากรทางการเงิน) เช่นลงเงินทุน
Step 7: Key activities (กิจกรรมหลักที่ต้องทำ)
หมายถึง กิจกรรมที่จะต้องทำเพื่อส่งมอบคุณค่า (Key Activities) ของสินค้าหรือบริการของคุณมีอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น
Production เช่น การออกแบบ การผลิต การควบคุมคุณภาพ หรือการซ่อมบำรุง เป็นต้น
Research & Development เช่น การพัฒนาสินค้า การพัฒนาขั้นตอนการทำงาน หรือการสร้างสรรค์นวัติกรรมใหม่ๆ เป็นต้น
Marketing เช่น การวางแผนการตลาด การทำแคมเปญ การซื้อสื่อ หรือการวิเคราะห์คู่แข่ง เป็นต้น
Sales & Customer Service เช่น การขาย การให้บริการลูกค้า เป็นต้น
Step 8: Key Partners (พันธมิตรทางธุรกิจหลักที่ร่วมมือด้วย)
หมายถึง ข้อมูลของคน/บริษัทที่คุณจะทำธุรกิจด้วย (หรือคน/บริษัทที่คุณต้องพึ่งพาอาศัย) โดยปกติแล้ว Key Partners แบ่งออกได้เป็น 4 แบบ ได้แก่
Strategic alliances between non-competitors การร่วมมือกับคนหรือบริษัทที่ไม่ใช่คู่แข่ง เช่น การที่บริการ Delivery จับมือกับธนาคารเพื่อปล่อยเงินกู้ เป็นต้น
Coopetition การร่วมมือกับคู่แข่ง เช่นสายการบินต่างๆ ร่วมมือเป็นพันธมิตรธุรกิจ (ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ ก็ Star Alliance)
Joint Ventures to develop new businesses การร่วมมือเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ เช่น Wongnai + LINE + Lalamove = LINE Man เป็นต้น
Buyer-supplier relationships ความสัมพันธ์แบบผู้ซื้อ-ผู้ขาย เช่น บริษัทเครื่องดื่มเป็นพันธมิตรกับโรงงานบรรจุขวด เป็นต้น
Step 9: Cost Structure (โครงสร้างต้นทุน)
หมายถึง ต้นทุนและหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของคุณ
โครงสร้างต้นทุนเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ธุรกิจไปต่อได้ ถ้าต้นทุนสูง ก็อาจจะทำราคาแข่งกับคนอื่นยาก ถ้าต้นทุนคุณต่ำ อาจจะเป็นหนึ่งในจุดแข็งของธุรกิจของเรา
ถ้าทำธุรกิจซอฟต์แวร์ให้บริการทำบัญชีออนไลน์ ต้นทุนหลักๆ จะมีเงินเดือนพนักงานสำหรับฝ่ายต่างๆ เช่น Developer, Designer หรือ Marketer ค่าเซอร์เวอร์ ค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาธุรกิจ ค่าเช่าออฟฟิศ เป็นต้น
คำแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจด้วย Business Model Canvas
1.ค่อยๆ เขียนแผนธุรกิจทีละข้อ เป็นลำดับไป
การเขียน Business Model Canvas ที่ดีนั้นไม่ได้เขียนจากซ้ายไปขวา ขวามาซ้าย แต่เป็นการเขียนโดยอ้างอิงจาก “ตลาด” ก่อน
เพราะฉะนั้นข้อมูลช่องแรกที่คุณควรใส่คือกลุ่มลูกค้า (Customer Segments) คุณต้องเห็นก่อนว่าใครคือกลุ่มลูกค้าของคุณ เมื่อทราบแล้วว่ากลุ่มลูกค้าเป็นใคร สิ่งถัดมาที่คุณควรคิดคือคุณมีคุณค่า (Value Proposition) อะไรที่จะส่งมอบให้คนกลุ่มเหล่านี้ จากนั้นก็มาดูต่อว่าจะส่งมอบคุณค่าของคุณให้กลุ่มคนเหล่านี้ผ่านช่องทาง (Channel) ไหนและด้วยความสัมพันธ์ (Customer Relationship) แบบไหน
จากนั้นมาดูต่อว่าคุณจะหารายได้ (Revenue Streams) ยังไง และจะต้องใช้ทรัพยากร (Key Resources) กิจกรรม (Key Activities) และพันธมิตร (Key Partners) อะไรบ้างเพื่อทำให้คุณส่งมอบสินค้าหรือบริการได้
และค่อยมาดูต่อว่าค่าใช้จ่าย (Cost Structure) ที่ทำให้คุณดำเนินธุรกิจได้มีอะไรบ้าง
การเขียนแผนธุรกิจ Business Model Canvas ด้วยลำดับขั้นตอนแบบนี้จะทำให้คุณไล่เรียงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
2. สำหรับการวางแผนธุรกิจ หลายหัวดีกว่าหัวเดียว
ถ้าคุณมีหุ้นส่วนทางธุรกิจ การชวนหุ้นส่วนของคุณมาสุมหัวช่วยกันคิดแผนธุรกิจจะทำให้ครอบคลุมกว่าการที่คุณคิดคนเดียว
คำแนะนำของผมเวลาระดมสมองกับหุ้นส่วนของคุณให้พิมพ์ตาราง Business Model Canvas ออกมาและใช้ “Post It” ในการระดมสมอง
สาเหตุนั้นเป็นเพราะทุกครั้งที่เกิดการแชร์ไอเดีย มีโอกาสสูงมากที่คุณและหุ้นส่วนธุรกิจจะมีมุมมองไม่เหมือนกัน และเมื่อออกความเห็นมาแล้ว จะต้องมีการถกเถียงกัน
การใช้ Post It จะทำให้คุณสามารถดึงมันเข้าออก ปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจโดยอิงจากข้อสรุปของคุณและหุ้นส่วนธุรกิจได้อย่างง่ายๆ
Note: ถ้าคุณเป็นคนที่คิด Business Model Canvas คนเดียว ผมแนะนำให้คุณไปลองใช้เครื่องมือออนไลน์อย่าง Canvanizer หรือ Leanstack ซึ่งจะมีระบบที่ช่วยให้คุณสามารถเขียนแผนธุรกิจด้วย Business Model Canvas ออนไลน์ได้อย่างง่ายๆ ครับ
3. ศึกษาตัวอย่างแผนธุรกิจของคนอื่น
ถ้าคุณพึ่งเคยเขียนแผนธุรกิจด้วย Business Model Canvas เป็นครั้งแรก คุณอาจจะรู้สึกงงงวยและเขียนมันออกมาไม่ได้
วิธีแก้เรื่องนี้คือให้คุณลองไปหาตัวอย่างการเขียนแผนธุรกิจด้วย Business Model Canvas จากที่อื่นมาเป็นตัวอย่างครับ
วิธีการง่ายๆ เลยให้คุณเข้า Google แล้วค้นหาคำว่า “Business Model Canvas Example”, “Business Model Canvas ตัวอย่าง” หรือไม่ก็ “Business Model Canvas + รูปแบบธุรกิจของคุณ” ครับ
< ย้อนกลับ หน้าหลัก