หุ้นปันผล
หุ้นเติบโต
SWOT Analysis
การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ หรือ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ เพื่อกำหนดทิศทางและวิธีการหรือกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร คือ จะทำให้ทราบว่าองค์กรของเรามีศักยภาพมากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากจุดแข็ง (Strength) และ จุดอ่อน (Weakness) ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้ จะแสดงให้เห็นว่าองค์กรมีจุดแข็งใดบ้างที่ควรคงไว้ และจุดอ่อนใดบ้างที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น ส่วนภายนอกองค์กร เราจะทราบได้จากการวิเคราะห์โอกาส (Opportunity) และ อุปสรรค (Threat) ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ แต่สามารถวิเคราะห์เพื่อนำไปปรับปรุงองค์กรได้
source: https://th-th.facebook.com/BroadcastMediaCoLtd/posts/850733485058295/
ตัวอย่าง การวิเคราะห์ SWOT Analysis ของ บริษัท S & P
บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทในเครือ ผู้นำทางด้านธุรกิจร้านอาหารและร้านเบเกอรี่ เปิดให้บริการอาหาร เบเกอรี่ และเครื่องดื่มทั้งในและต่างประเทศมาเป็นเวลากว่า 30 ปี รวมกว่า 230 สาขา โดยบริษัทได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ เอส แอนด์ พี ซึ่งแบ่งจำแนกประเภทธุรกิจเป็นร้านอาหารและร้านเบเกอรี่ในประเทศ, ร้านอาหารในต่างประเทศ มีโรงงานทั้งหมด 4 แห่ง โดยแบ่งเป็นโรงงานผลิตเบเกอรี่ จำนวน 3 แห่ง และโรงงานผลิตอาหารแช่แข็ง 1 แห่ง กลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทฯ แยกเป็นแต่ละแบรนด์ซึ่งจะเน้นให้ความสำคัญทางด้านผลิตภัณฑ์และด้านการบริการให้เหมาะสมกับลูกค้าหลักในแต่ละแบรนด์นั้นๆ
source: https://th-th.facebook.com/BroadcastMediaCoLtd/posts/850733485058295/
SWOT ANALYSIS
ผลกระทบเชิงบวก
ผลกระทบเชิงลบ
ปัจจัยภายใน
จุดแข็ง
1. พนักงานมีทักษะและความเชี่ยวชาญในการทำงาน
2. มี Empowerment คือ มีการมอบอำนาจการตัดสินใจให้พนักงานในการปฏิบัติงานในระดับหนึ่ง ทำให้พนักงานมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
3. รสชาติและคุณภาพของสินค้าเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
4. ความมีชื่อเสียงของตราสินค้า(ยี่ห้อ) S & P ทำให้สินค้าเป็นที่ยอมรับ
5. การมีบรรจุภัณฑ์สวยงาม สามารถดึงดูดใจลูกค้า
6. ตำแหน่งร้านอยู่ในทำเลที่ดี (อยู่ด้านหน้าร้านแรก) ลูกค้ามาใช้บริการได้สะดวก
จุดอ่อน
1. มีปัญหาในขั้นตอนการทำกาแฟที่ค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร ทำให้ลูกค้ารอนาน
2. ระบบการชำระเงินเป็นการคีย์ระรหัสสินค้า ไม่มีการนำระบบ Barcode มาใช้ ซึ่งทำให้เสียเวลาในการคีย์ข้อมูล และอาจข้อผิดพลาดได้
3. พบปัญหาในด้านพนักงาน ที่ขาดมนุษยสัมพันธ์กับลูกค้า
4. ไม่ทราบความพึงพอใจของลูกค้า (customer feedback) หรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
ปัจจัยภายนอก
โอกาส
1. สภาวะทางเศรษฐกิจกำลังเริ่มฟื้นตัวจากปีที่ผ่านๆ โดยมีอัตราการเติบโตที่ไม่สูงมากนัก แต่ก็จัดได้ว่าประชากรมีการใช้จ่ายมากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการในการขายสินค้าได้มากขึ้นด้วย
2. จากการที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาและก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้กระบวนการผลิตสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ
3. กระแสการรณรงค์ให้บริโภคสินค้าไทย ภายใต้ คำขวัญ “ ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ ” เป็นการช่วยส่งเสริมการบริโภคของประชาชนให้หันมาใช้สินค้าภายในประเทศ ส่งผลดีต่อร้าน S & P ซึ่งเป็นร้านเบเกอรี่ของคนไทย
ภัยคุกคาม/อุปสรรค
1. การบริโภคสินค้าของประชาชนในปัจจุบัน จะมีการใส่ใจต่อสุขภาพกันค่อนข้างมาก จะมีการเลือกซื้อสินค้าที่ดีและมีประโยชน์ รวมทั้งการบริโภคของกลุ่มวัยรุ่นจะนิยมบริโภคสินค้าที่มีแครอรี่ต่ำ เพราะไม่ต้องการมีน้ำหนักที่มากเกินไป หรือไม่ต้องการอ้วนนั้นเอง ซึ่งจากสภาวะการดังกล่าวส่งผลต่อสินค้าเบเกอรี่ของร้านS & P เนื่องจากสินค้าจำพวกเบเกอรี่เหล่านี้มีปริมาณแครอรี่ค่อนข้างสูง และผู้บริโภคจะซื้อในปริมาณไม่มาก เพราะกลัวอ้วน
2. คู่แข่งขันมีสินค้าที่หลากหลายและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายทำให้คู่แข่งสามารถแย่งส่วนแบ่งของกลุ่มลูกค้าจากร้านS & P เบเกอรี่ ช็อพ ได้พอสมควร
แหล่งข้อมูล http://bisnescafe.com/ และ เว็บไซต์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม http://strategy.dip.go.th/
< ย้อนกลับ หน้าหลัก