TAO TE CHING
คัมภีร์เต๋า เต้าเต๋อจิง
แหล่งที่มาของข้อมูล สรวงอัปสร กสิกรานันท์ เต้าเต๋อจิง : คัมภีร์เต๋า -- กรุงเทพฯ : แอร์โรว์. 2563 ISBN 978-616-434-223-1
เต้าเต๋อจิง "คัมภีร์เต๋า"
เต้าเต๋อจิง คือคัมภีร์แห่งวิถีการดำเนินชีวิตการดำเนินชีวิตที่มีอิทธิพลต่อความคิดของชาวจีนมานับแต่ครั้งโบราณ มักถูกเรียกขนาว่า "คัมภีร์ห้าพันตัวอักษร" ด้วยตัวคัมภีร์มีความยาวเกินกว่าห้าพันตัวอักษรเพียงเล็กน้อย สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คัมภีร์เล่มนี้สั้นมาก มีส่วนมาจากการที่ภาษาจีนโบราณเป็นภาษาที่กระชับ อีกทั้งรูปแบบเฉพาะของการประพันธ์ ยังเป็นการบรรจุความหมายอย่างชัดเจนไว้ในแต่ละถ้อยคำโดยไม่ต้องขยายความ ในลักษณะ "ยิ่งน้อยยิ่งมาก" จึงทำให้ไม่มีความเยิ่นเย่อ
ตามทรรศนะดั้งเดิม เต้าเต๋อจิง รู้จักกันเมื่อครั้งโบราณในชื่อ "คัมภีร์เหลาจื่อ" ซึ่งเขียนโดย เหลาจื่อ (เล่าจื๊อ) ชายชราผู้มีชีวิตอยู่ในยุคสมัยเดียวกับขงจื่อ (ขงจื๊อ) โดยเนื้อหาของคัมภีร์เขียนขึ้นเป็น 2 ภาค มีทั้งหมด 81 บท ภาค 1 คือ เต้าจิง (คัมภีร์วิถี) มี 37 บท ภาค 2 เต๋อจิง (คัมภีร์คุณธรรม) มี 44 บท คัมภีร์นี้จึงเรียกขานกันในกาลต่อมาว่า เต้าเต๋อจิง มีบันทึกกล่าวไว้ว่า เหลาจื่อ ได้เขียนคัมภีร์นี้ตามคำขอร้องของผู้พิทักษ์แห่งวิถี โดยเขียนไว้เป็นสองภาค
คุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญของ วิถี คือ ไร้ตัวตนและไร้นาม เรียบง่ายและว่างเปล่า หากแต่มีอยู่จริงและจะคงอยู่ชั่วนิรันดร์ วิถีที่ชี้แนะโดยเหล่าจื่อนี้ มิใช่วิถีที่เหลาจื่อสร้างขึ้นมา ทว่าเป็นแก่นสารแท้จริงซึ่งมีมาแต่ครั้งกำเนิดโลกและยืนยันโดยการมีอยู่ของเอกภพอันมีมาก่อนโลก ดังนั้นการมีอยู่จริงของวิถี จึงมีมาก่อนที่โลกมนุษย์จะก่อกำเนิด และการชี้แนะวิถีแก่เพื่อมนุษย์ก็มิได้มีจุดประสงค์ใด นอกเหนือไปจากปรารถนาที่จะเห็นผู้คนดำรงอยู่ในคุณธรรมอันดีงาม และดำเนินชีวิตด้วยสติปัญญาและการรู้ตน "วิถี คือการต้องมองให้เห็นซึ่งความเป็นจริงอยู่เสมอ" "วิถี คือสัจธรรมทุกประการบนโลกมนุษย์"
การมองโลกผ่านสัจธรรมของเหลาจื่อ คือการมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งอย่างเป็นวัฏจักร สิ่งตรงกันข้ามกันย่อมมีความสัมพันธ์อันมีนัยสำคัญต่อกันและโลกจะดำรงอยู่ได้ภายใต้การผสานกันอย่างสมดุลของสิ่งตรงกันข้าม นั่นก็คือ หยิน มีความหมายถึง เงาหรือความมืด และ หยาง มีความหมายถึงดวงอาทิตย์หรือแสงสว่าง ซึ่งตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง
ผู้หญิง
ค่ำคืน ความมืดมิด
ฝน น้ำ ความเย็น
ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ร่วง
จำนวนคี่
ดวงจันทร์
ทิศเหนือ ทิศตะวันออก
ซ้าย ขึ้น
สัญชาตญาณ
ความนิ่ง ความคงที่
การหดตัว การลดลง
อนุรักษ์นิยม จารีตนิยม
หุบเหวลึก
ลำธาร
เส้นโค้ง
ความอ่อนนุ่ม
การสร้างความแข็งแกร่ง
จิต
พิภพ
มังกร
ตรงข้ามกับ
ผู้ชาย
กลางวัน ความสว่าง
ไฟ ความร้อน
ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิ
จำนวนคู่
ดวงอาทิตย์
ทิศใต้ ทิศตะวันตก
ขวา ลง
ปัญญาญาณ
ความเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง
การขยายตัว การเพิ่มขึ้น
นวัตกรรม การปฏิรูป
ภูเขาสูง
ทะเลทราย
เส้นตรง
ความกระด้าง
การละลาย
กาย
โลกอันเป็นนามธรรม
เสือ
ทรรศนะของเหล่าจื่อ
"อาณาจักร คือตัวแทนขอบเขตบ้านเมือง (กฎ ระเบียบ กติกา) ที่มนุษย์อาศัยอยู่บนผืนพิภพเดียวกัน"
"การดำรงอยู่อย่างนิรนาม คือการอำพรางตน ในความสัมพันธ์ที่มีต่อสรรพชีวิตนับอนันต์"
"ผู้ปกครองที่ดีที่สุด คือผู้ปรากฏต่อผู้ใต้ปกครองเพียงเงา และเมื่อภารกิจเสร็จสิ้น งานของเขาลุล่วง ผู้คนล้วนเอ่ยเป็นเสียงเดียวว่า ผลงานของท่านปรากฏแก่เราด้วยตัวของมันเอง"
เน้นย้ำ
"มนุษย์จำลองตนเองบนพิภพ พิภพจำลองตนเองบนสวรรค์ สวรรค์จำลองตนเองบนวิถี ฉันใดฉันนั้น วิถี จำลองตนเองบนสิ่งซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติ"
ในธรรมชาติของเอกภพนั้น "ความอ่อนโยน ความอ่อนน้อม และความโอนอ่อน" จะทำให้มนุษย์อยู่รอดและมีชัยในบั้นปลาย มนุษย์ควรรู้ให้น้อยแต่เข้าใจให้มาก รู้จักพึงพอใจ รู้จักว่าเมื่อไรพึงหยุด ไม่ช่วงชิง และรู้จักหยุดนิ่งเพื่อการก่อเกิดสติปัญญาและศีลธรรม"
< ย้อนกลับ หน้าหลัก