DIGITAL LITERACY
สาระที่น่าสนใจ
10 ทักษะที่จำเป็นต้องมีเพื่อเอาตัวรอดจากการเพิ่มขึ้นของ AI (สรุปโดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์)
จากบทความ "เราจะอยู่รอดในยุค AI กำลังจะครองเมืองได้อย่างไร" โดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ NOPADOL'S STORY
(ref. https://nopadolstory.com/category/decision/)
1. ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex problem solving)
เช่น การมองข้ามอุตสาหกรรม หรือการหาทางออกของปัญหา ที่มันยังไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ
2. ความคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking)
คือ ความคิดที่จะช่วยให้เราเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจ (อันนี้คิดว่าคงยากหน่อย เพราะ AI มันมีจุดแข็งตรงนี้เช่นกัน) แต่เราอาจจะใช้การตีความต่าง ๆ เข้ามาช่วยได้
3. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
คือ ความคิดใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้ ถ้าเรามีตรงนี้อยู่ AI ก็อาจจะยังไม่สามารถทดแทนเราได้อย่างสมบูรณ์
4. ทักษะในการจัดการคน (People management)
อันนี้แหละครับ ที่เราจะชนะ AI ได้ เพราะผมเชื่อว่าคนยังอยากคุยกับคนอยู่ เช่น ลักษณะของความเป็นผู้นำที่จะช่วยกระตุ้นให้คนฮึกเหิม แบบนี้ AI ทำได้ยากหน่อย สู้คนไม่ได้ แต่เราก็ต้องมีทักษะตรงนี้ด้วย
5. ทักษะในการประสานงานกับคนอื่น (Coordinating with others)
อันนี้ก็จะเป็นจุดแข็งของเราเช่นกันครับ ใครที่สามารถ connect คนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จะมีจุดเด่น ซึ่ง AI อาจจะทำได้ยังไม่ดีเท่ากับคน
6. ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence)
อันนี้ก็เป็นอีก Area หนึ่ง ที่คนยังน่าจะทำได้ดีกว่า AI เช่น การสร้างความเห็นอกเห็นใจ หรือการสร้างความกระหายที่จะเรียนรู้ พวกนี้ ถ้าเรามีอยู่ AI ก็น่าจะยังสู้เราไม่ได้
7. ความสามารถในการตัดสินใจ (Judgment and decision making)
ถึงแม้ว่าอันนี้มันเป็นจุดแข็งอันหนึ่งของ AI แต่หลาย ๆ งาน บางทีเราจะตัดสินใจผ่านข้อมูลอย่างเดียวก็อาจจะไม่ได้ เช่น เราจะแต่งงานกับใคร แบบนี้ AI อาจจะเอาข้อมูลมาเปรียบเทียบเรื่องการศึกษา Life style แต่ลึก ๆ ความชอบที่มันมาจากจิตใต้สำนึก มันอาจจะยังเข้าไม่ถึง ตรงนี้เราน่าจะยังเหนือกว่าอยู่ แต่ก็ต้องพัฒนาตนเองนะครับ
8. ความสามารถในการบริการ (Service orientation)
ลองนึกภาพว่าเราจะไปสปา เราอยากจะให้ใครนวดระหว่างเครื่องจักรกับคน ใช่ครับ บางทีเครื่องจักรมันอาจจะนวดได้ดีกว่า แต่สุดท้ายแล้ว มันคุยกับเราไม่ได้ (หรือคุยได้ก็ยังเป็นแบบหุ่นยนต์) มันยังหัวเราะไม่ได้ ตรงนี้คนน่าจะเหนือกว่าอยู่ แต่เราก็ต้องฝึกให้มีทักษะด้านนี้ เพราะถ้าไปถึง มีแต่หน้าตาบูดบึ้ง คนก็อาจจะเลือกเครื่องจักรก็ได้นะครับ
9. ทักษะในการต่อรอง (Negotiation)
ใช่ครับ AI มันอาจจะช่วยหาจุดที่ดีที่สุดของทั้งสองฝ่ายได้ แต่สุดท้ายบางที การต่อรองมันไม่ใช่วิทยาศาสตร์แบบนั้น มันมีศิลปะอีก เช่น คนนี้ เราสนิทกัน ถึงเราจะเสียเปรียบเรื่องนี้ แต่มิตรภาพระยะยาวยังอยู่ ตรงนี้ AI อาจจะยังเข้าไม่ถึง การต่อรองอาจจะต้องใช้คนอยู่
10. ความยืดหยุ่นในความคิด (Cognitive flexibility)
คือความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น เรากำลังเจอปัญหาแบบนี้ เราต้องทำตัวแบบนี้ คนกำลังทะเลาะกัน อย่าเพิ่งเอาเหตุผลไปอธิบาย ต้องให้เขาเย็นลงก่อน แล้วเหตุผลจึงค่อยมา อะไรแบบนี้ ตอนนี้คนเรายังเหนือกว่า
7 บทเรียนสำคัญในการเป็น Solopreneur
ต้องทดลอง เพื่อหาสิ่งที่ work ที่สุด
ต้องมีอีเมลลิสต์ (Mailing Lists)
ต้องมีสิ่งดึงดูดใจบางอย่าง (แม่เหล็กดึงดูด)
ต้องรู้ไว้เสมอ คือ สม่ำเสมอ, พัฒนาต่อเนื่อง, มีแก่นที่ชัดเจน และรักษาความสัมพันธ์กับแฟนคลับ
กระบวนการทำ Online ไม่มีวันจบสิ้น (ต้องทำไปเรื่อย ๆ)
หลักพาเรโต "80 : 20"
เครื่องมือ AI ต้องใช้ให้เป็น
6 เครื่องมือ Digital ที่จำเป็นสำหรับ Podcaster
Chat GPT (สร้างเนื้อหา "Script")
voice.botnoi.ai (Copy "Script" มาลงในแพล็ตฟอร์มมีทั้งแบบฟรี + เสียเงิน)
Podcastle.ai (โปรแกรมปรับแต่งเสียงให้ลื่นไหล)
D-ID.com (สร้าง Video เคลื่อนไหวจากรูปภาพนิ่ง)
openai.com > Dall-E (สร้างรูปภาพใหม่ด้วย ai จากข้อความที่ระบุ)
Canva (สร้างปก Video ตาม Style ของเรา)
การทำ Podcast โดยใช้หลักการ PALMS (โดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์)
ผู้ประกอบการวันหยุด Weekend Entrepreneur โดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ NOPADOL'S STORY
(ref. https://nopadolstory.com/weekend-entrepreneur/podcaster-as-a-weekend-entrepreneur/)
1. เป็นงานที่เรารัก (Passion)
เลือกสิ่งที่สนใจมาก ๆ คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ Podcast ของเรามีคนฟังมากหรือน้อย
ความสม่ำเสมอ ผมทำทุกวัน ตอนหนึ่งประมาณ 20 นาที จากคนฟังหลักร้อย ก็กลายเป็นหลักพัน หลักหมื่น แต่เราจะทำแบบนี้ไม่ได้ถ้าเราไม่รักในสิ่งที่เราทำ สำหรับผม ผมรักการอ่านหนังสือ ดังนั้นช่องของผม ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นการ Review หนังสือที่ผมอ่านแล้วชอบ หรือมาเล่าประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมประทับใจและคิดว่าจะมีประโยชน์ให้กับคนอื่น ๆ ได้ฟังด้วย
ถ้าเราอยากจะทำ Podcast ลองมองหาเรื่องที่เราชอบกันนะครับ เริ่มจะสิ่งที่เราชอบนี่จะทำให้เราอยากทำทุกวัน และจะทำให้คนติดตามเยอะจนกระทั่งอาจจะสามารถสร้างรายได้ได้เลยครับ
2. เป็นงานที่เราเก่ง (Ability)
ถ้าเราไม่เก่งในเรื่องที่เราทำ โอกาสที่เราจะสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่นก็จะน้อย แปลว่าโอกาสที่เราจะสามารถสร้างรายได้ในเรื่องนั้นก็น้อยตาม
ต้องรู้เรื่องสิ่งที่เราพูดใน Podcast ระดับหนึ่ง แต่ไม่ต้องถึงกับต้องเรียนจบมาด้านนั้นโดยเฉพาะเลย
สามารถจับประเด็นเอาพูดคุยที่จะทำให้คนฟังได้ประโยชน์ได้
เลือกหัวข้ออะไรมาพูดใน Podcast ก็ได้ แต่ทำการบ้านให้เข้าใจในหัวข้อที่จะพูด แค่นี้ก็ถือว่าผ่านในข้อนี้แล้วล่ะครับ
3. ใช้เงินลงทุนต่ำ (Low Investment)
ค่าเช่าพื้นที่ของโปรแกรมที่เราจะเอา Podcast ไปลง และกระจายไปที่อื่น ๆ เช่น Podbean Soundcloud หรือ YouTube เรียกว่าฟรี
ไมโครโฟน แนะนำว่าซื้อให้ดี ๆ สักอัน ราคาอาจจะหลักหลายพัน แต่ถ้าเราทำบ่อย ๆ ยังไงเราใช้ได้คุ้มค่าอยู่แล้ว
Notebook ที่จะลง Program อัดเสียง (ผมใช้ Program Audacity)
ช่วงแรก ๆ ใช้ห้องทำงานธรรมดา คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ไมค์ 1 ตัว แค่นั้นเลยจริง ๆ Program ที่ใช้อัดเสียง Audacity ฟรีครับ
4. ต้องสร้างรายได้ได้ (Money)
รายได้จาก Podcast จะมาจาก 2 แหล่ง
รายได้ส่วนแบ่งจากค่าโฆษณาที่ YouTube นำมาลงให้ อันนี้แล้วแต่ว่าจะมีผู้ติดตามเรามากน้อยแค่ไหน ในช่วงแรก ๆ ยังไม่มีผู้ติดตามมาก เขาก็ยังไม่เอาโฆษณามาลงให้ แต่พอมีผู้ติดตามระดับหนึ่ง เราไปเปิด Option การทำเงิน ก็จะมีโฆษณามาลง ยิ่งคนติดตามมาก เราก็จะได้ส่วนแบ่งตรงนี้มาก
รายได้จาก Sponsor ที่เขาจะจ้างให้เรา Review สินค้าหรือบริการของเขา หรือสัมภาษณ์ผู้บริหารเขาเพื่อ Promote บริษัทหรือสินค้าหรือบริการของเขา ส่วนใหญ่รายได้แบบนี้จะได้มาเมื่อมีคนติดตาม Podcast เรามากพอสมควรแล้ว ยิ่งมีคนติดตามมาอัตราค่า Sponsor ก็จะเยอะตาม เป็นต้น
5. สามารถขยายใหญ่ได้ (Scalability)
ถ้าเป็นรูปแบบการได้ส่วนแบ่งโฆษณาจาก YouTube แบบนี้ รายได้เราสามารถขยายใหญ่ได้โดยไม่ต้องใช้แรงไปแลก เช่น ถ้ามีตอนใดตอนหนึ่งคนฟังมาก ๆ ยิ่งฟังมาก เราก็ยิ่งได้รายได้มากตาม แต่ถ้าเป็นรูปแบบของการถูกจ้างใน Review สินค้าหรือบริการ แบบนี้อาจจะขยายได้ยากหน่อย เพราะว่าเราต้องใช้แรงเราในการอัด Podcast เพื่อให้ตอบโจทย์ของผู้ว่าจ้าง เราคงใช้ตอนเก่า ๆ ที่เราอัดแล้วมาใช้ไม่ได้ เพราะคงไม่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการเขา
แต่อย่างไรก็ตามการทำ Podcast นั้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีคนมาจ้าง ผมก็ยังสนับสนุนให้ทำบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะจะมีผลต่อจำนวนผู้ฟังที่ติดตามเราด้วยครับ อย่างที่บอกว่ายิ่งติดตามเยอะ ก็มีโอกาสได้รายได้เยอะขึ้นไปด้วย
ถึงแม้ว่า Podcast ยังเป็นสื่อที่ยังไม่ได้ถึงกับเป็นที่นิยมมากนัก เทียบกับสื่ออื่น ๆ แต่ถ้ามองเป็นข้อดีก็คือแปลว่าคู่แข่งเราก็ยังไม่เยอะ ถ้าเราเริ่มก่อน ก็มีโอกาสจะได้รายได้ก่อน และเราสามารถใช้เวลาในวันหยุดหรือเวลาว่างทำได้เช่นกัน เพราะมันไม่ใช่รายการสด เราสามารถอัดเก็บไว้ได้ในเวลาว่าง ลองนำไปพิจารณากันได้นะครับ
เทคนิคการสร้างตัวตนในช่อง TikTok (ช่อง YouTube เซียนเป็ด)
เราชอบอะไร ? ทำให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
กลุ่มเป้าหมายคือใคร ? ค้นหากลุ่มคนที่เหมือนกับตัวเราในอดีต
สำรวจตลาด
การทำ Content
ใส่ความเป็นตัวเองลงไป
ทำให้เป็นเกมระยะยาว
เรียนรู้ ปรับปรุง พัฒนา
เทคนิคการสร้าง Video เล่าเรื่อง ประเภท 2 มิติ (ช่อง YouTube ครูอภิวัฒน์ สอนสร้างสื่อ)
YouTube: สอนตัดต่อคลิปสื่อการสอนด้วย Canva และใช้เสียงบรรยายจาก Botnoi Voice
ค้นหาเนื้อหาหรือสคริปต์จากแหล่งฟรี เช่น กัลยาณมิตร.com (นิทานอีสป) เป็นต้น
Copy ข้อความเนื้อเรื่องสั้น ๆ และมีประโยชน์ นำไปวางลงในแพล็ตฟอร์ม Voice ของ Botnoi.ai
Download ไฟล์เสียง MP3 จาก Botnoi.ai มาลงในแพล็ตฟอร์ม Canva ที่เมนู สร้างดีไซน์ > วิดีโอเพื่อการศึกษา
ระบบยืนยันตัวตน E-KYC และ KYC คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร
ดูเนื้อหา Link to: https://scbtechx.io/th/blogs/kyc-and-ekyc-difference/
< ย้อนกลับ หน้าหลัก